ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์เทศบาลตำบลเหมืองง่า ✪ วิสัยทัศน์ "เหมืองง่าเมืองน่าอยู่ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักธรรมาภิบาล" ✪ คติพจน์ "สืบสาน รักษา พัฒนา อย่างยั่งยืน" ✪

แจ้งเรื่องร้องเรียนสายผู้บริหาร

ภารกิจผู้บริหาร










facebook


1
วังมัจฉา วัดศรีบุญยืน,เทศบาลตำบลเหมืองง่า,muangngalamphun.go.th

“วังมัจฉา” แห่งเหมืองง่า วังมัจฉาแห่งนี้ตั้งอยู่ ณ วัดศรีบุญยืน หมู่ 3 ตำบลเหมืองงง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อยู่ตรงข้ามกับหน้าวัดพอดี  โดยแม่น้ำนี้ชื่อว่าแม่น้ำกวงนั้นเอง ซึ่งในอดีตกาลเป็นแม่น้ำที่ใสสะอาดหล่อเลี้ยงผู้คนชาวเมืองง่ามาช้านาน จวบจนบัดนี้ก็ไม่เสื่อมคลาย อยากเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาบุญที่ผ่านไปผ่านมา เยือนวัดศรีบุญยืน แห่งวังมัจฉานี้ได้ร่วมทำบุญให้อาหารปลาและร่วมปล่อยปลาต่อไป

ข้อมูลโดย : นางสาวธวัลพร ศรีมันตะ  ครู กศน.ตำบลเหมืองง่า

พิกัดที่ตั้ง : 18.5999824313689      99.03054311871527

 

10 กรกฎาคม 2563

หอศิลป์บ้านบัวแก้ว อ.จรูญ บุญสวน,เทศบาลตำบลเหมืองง่า,muangngalamphun.go.th

หอศิลป์บ้านบัวแก้วเป็นหอศิลป์ของอาจารย์จรูญ บุญสวน ศิลปินอาวุโสที่เขียนภาพในรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ (IMPRESSIONISTIC STYLE) ใช้สีสันสดใส สะดุดตา ส่วนใหญ่จะเป็นภาพทิวทัศน์ ดอกไม้ ที่ทำให้ผู้ชมภาพเกิดความเบิกบานใจ หอศิลป์แห่งนี้จัดตั้งขึ้นราว พ.ศ. 2532 ประกอบด้วยอาคาร 2 หลัง อาจารย์จรูญมีความตั้งใจให้เป็นหอศิลป์ที่ต้อนรับผู้เข้าชมตลอดเวลาดังเช่นพิพิธภัณฑ์หรือหอศิลป์อื่นๆ แต่ปัจจุบันเนื่องด้วยในฐานะของศิลปินที่จะต้องทำงานศิลปะโดยตลอด ทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะรับรองผู้เข้าชมได้ หอศิลป์จึงไม่ได้เปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม อาจารย์มีโครงการที่จะกลับมาเปิดพิพิธภัณฑ์เพื่อต้อนรับสาธารณชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากลูกชายที่เป็นอาจารย์ด้านศิลปะ จะเข้ามาดูแลและทำกิจกรรมกับเยาวชน อาจารย์ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่กับการสร้างงานศิลปะ และจัดแสดงภาพของตนเองเป็นครั้งคราว เช่น งานที่หอศิลป์จามจุรี เมื่อปี 2548 และหอศิลป์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2550 บางปีมีนักศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. มาฝึกวาดภาพในห้องทำงานของอาจารย์ด้วยเช่นกัน ศิลปะสำหรับอาจารย์แล้วคือ สิ่งจรรโลงใจที่ศิลปินจะมอบให้สังคม สุนทรียะเป็นเรื่องแรกที่อาจารย์กล่าวถึงเมื่อพูดถึงงานศิลปะ

 

ข้อมูลจาก: สำรวจภาคสนาม วันที่ 12 พฤศจิกายน 2550 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

 

ที่อยู่ : 33/2 ม.10 ถ.เจริญราษฎร์ ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน 51000

พิกัดที่ตั้ง :  18.600940805361276      99.02039498090741

Facebook  www.facebook.com/buakaew.artgallery

เบอร์ติดต่อ : 053-510739, 087-110-7174

10 กรกฎาคม 2563

สวนกาญจนาภิเษก ร.9 ตำบลเหมืองง่า,เทศบาลตำบลเหมืองง่า,muangngalamphun.go.th

ก่อตั้งเมื่อ (พ.ศ.) : 2543

ที่อยู่ : ม.2 ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน

พิกัดที่ตั้ง  :  18.61510479117959    99.02341783046721

10 กรกฎาคม 2563

หอธรรมวัดบ้านหลุก,เทศบาลตำบลเหมืองง่า,muangngalamphun.go.th

หอธรรมวัดบ้านหลุก สร้างเมื่อ จ.ศ.1258 (พ.ศ.2429) โดยครูบาปัญญาเป็นประธานในการก่อสร้าง ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น มีแบบการสร้างตามคติจักรวาลวิทยา ชาวล้านนาในสมัยก่อน มีความเชื่อว่าการสร้างหอธรรมเป็นการบูชาคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ถือเป็นพุทธวจนะ โดยเชื่อว่าคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ได้รับการจารอย่างถูกต้องแล้วเป็นของสูงค่าและมีคุณค่าศักดิ์สิทธิ์
          เมืองลำพูนในปัจจุบันยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมทางด้านศาสนาที่ทรงคุณค่าอยู่มากมาย ดังจะเห็นได้ว่าตามวัดต่าง ๆ ยังคงศาสนสถานที่สะท้อนให้เห็นรูปแบบของงานศิลปกรรม เช่น หอไตร มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ได้แก่ หอพระมณเฑียรธรรม หอพระธรรมมณเฑียร หอพระธรรม หอธรรมปฏิกฆระ หอพระไตรปิฏกและหอไตร ชื่อต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีที่มาจากสิ่งเดียวกันคือ ?พระไตรปิฏก? ซึ่งหมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนั้นหอไตรจึงเป็นสถานที่เก็บพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเอง
หอไตรโบราณอายุกว่า 130 ของวัดบ้านหลุกตั้งอยู่เลขที่ 163 หมู่ 8 ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งถือเป็นหอไตรที่คงสภาพความงามทางสถาปัตยกรรมล้านนามาจนถึงปัจจุบัน หอธรรมวัดบ้านหลุก สร้างเมื่อ จ.ศ.1258 (พ.ศ.2429) โดยครูบาปัญญาเป็นประธานในการก่อสร้าง ลักษณะเป็นอาคารทรงไทย 2 ชั้น มีแบบการสร้างตามคติจักรวาลวิทยา ชาวล้านนาในสมัยก่อน มีความเชื่อว่าการสร้างหอธรรมเป็นการบูชาคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ถือเป็นพุทธวจนะ โดยเชื่อว่าคัมภีร์พระไตรปิฎกที่ได้รับการจารอย่างถูกต้องแล้วเป็นของสูงค่าและมีคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ และการสร้างหอธรรมควรจะอยู่ที่สูง ปลอดภัยจากการเข้าไปหยิบฉวย จะเห็นได้ว่าการเข้าไปยังห้องเก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกจะต้องใช้บันไดปีนพาดขึ้น จึงไม่ปรากฏว่ามีการสร้างบันไดทั้งภายในและภายนอกหอไตรแต่อย่างใด
          ประติมากรรมที่ใช้ประดับหอธรรมของวัดบ้านหลุก ประกอบด้วยประติมากรรมรูปเทวดาแกะสลักจากไม้เป็นตัวแทนของท้าวจตุโลกบาล คือ ท้าวทั้ง 4 เป็นคติความเชื่อและแนวคิดของการสร้างหอธรรม แป้นน้ำย้อย หน้าบัน นกหัสดีลิงค์ เป็นประติมากรรมแกะสลักไม้และประดับด้วยกระจกจืน ป้านลม ช่อฟ้า สันนิษฐานว่าน่าจะทำจากไม้ปุด้วยตองเหลืองเป็นช่อฟ้าศิลปะแถบลุ่มน้ำปิง (เชียงใหม่-ลำพูน) หน้าต่าง ใช้การเขียนลายบนชาด (หาง) เป็นลายเทวดาเดินประทักษิณ
          ชั้นบนของหอธรรมมีหีบธรรม บรรจุธรรมแบบใบลาน และปั้บกระดาษสา ชั้นล่าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งนับเป็นหีบธรรมโบราณที่เหลืออยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
ข้อมูลโดย จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th

ที่อยู่ : วัดบ้านหลุก เลขที่ 163 ม.8 ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน

พิกัดที่ตั้ง : 18.62932351455386    99.01251465082169

10 มิถุนายน 2563

1

ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 / 1  (4 รายการ)

สถิติการเข้าชม เริ่มวันที่ 8/03/2564
วันนี้
154
เมื่อวานนี้
245
เดือนนี้
519
เดือนที่แล้ว
5,530
ปีนี้
23,532
ปีที่แล้ว
30,834
ทั้งหมด
72,654
ไอพี ของคุณ
3.230.152.133
สถิติการเข้าชมเริ่มวันที่ วันนี้ เมื่อวานนี้ เดือนนี้ เดือนก่อน ปีนี้ ปีก่อน ทั้งหมด ไอพี ของคุณ
8/03/2564 154 245 519 5,530 23,532 30,834 72,654 3.230.152.133